หัวข้อกระดานข่าว ที่ คุณกำลังเปิดอ่านอยู่ขณะนี้
 
   ::คู่มือประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ "เตาเผาถ่าน"::
รายละเอียด:-แนวทางการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ประเภท การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบ

จาก : ชาญชัย เสี้ยวทอง - [19/12/2566 เวลา: 13:17:48] ข่าวนี้มีไฟล์แนบ
 

  ความคิดเห็นที่ 1

การขออนุญาตตั้งเตาเผาถ่าน จะขออนุญาต หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากแหล่งที่มาของไม้เป็นสำคัญ โดย

1) หากเป็นไม้หวงห้ามที่ขึ้นอยู่ในป่า และมีหลักฐานเป็นใบอนุญาตให้ทำไม้หวงห้าม/เก็บหาของป่าโดยการตัดไม้ทำฟืนแล้ว ถ้าประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเก็บหาของป่าสำหรับเผาเอาถ่าน (ตั้งเตาเผาถ่าน) ก็สามารถดำเนินการได้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ว่าด้วยการเก็บหาของป่าหวงห้าม

 2) หากเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน ไม่ถือว่าเป็นไม้หวงห้าม การทำไม้ การเก็บหา รวมถึงการตั้งเตาเผาถ่าน จึงไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายป่าไม้ แต่อย่างใด หากแต่มีความประสงค์จะให้ทางราชการรับรองให้ก็สามารถทำได้ตามแนวทางในหนังสือกรมป่าไม้ ที่ กษ 0704.03/6597 ลว. 8 มีนาคม 2537 เรื่อง การเผาถ่านจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง

3) การขออนุญาตค้าของป่าหวงห้าม ชนิดถ่านไม้ โดยหลักแล้วจะกำหนดให้ ผู้ที่ครอบครองของป่าหวงห้าม (ถ่านไม้) ซึ่งมีหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย และเป็นของป่าตามธรรมชาติ (ไม้มีที่มาจากป่า) เช่น ได้มาจากการซื้อขายกับผู้รับอนุญาตทำไม้หวงห้าม/ผู้รับอนุญาตเก็บหาของป่าหวงห้ามตามข้อ 1 หรือกรณีผู้ที่นำเข้าถ่านไม้จากต่างประเทศ และมีหลักฐานการได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากมีความประสงค์ที่จะค้าขาย ก็สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตค้าของป่าหวงห้ามได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2517) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เว้นแต่ เป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตเก็บหาของป่าหวงห้ามเพื่อเผาเอาถ่านอยู่แล้ว กรณีนี้สามารถค้าได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาตค้าอีกเป็นการซ้ำซ้อน

4) กรณีที่แน่ชัดด้วยหลักฐานว่าเป็นไม้จากที่กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามกฎหมายที่ดิน เจ้าของที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ สามารถขอออกหนังสือรับรองไม้ 18/1 (ในขณะที่เป็นไม้ท่อน ไม้ล้มลงคาตอ) หรือรับรองตนเองก็ได้ตามแนวทางที่กรมป่าไม้ได้แจ้งเวียนไป (โดยสำนักเศรฐกิจการป่าไม้) หรือหากเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เจ้าของที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ สามารถขอออกหนังสือรับรองไม้ 18/1 (ในขณะที่เป็นไม้ท่อน ไม้ล้มลงคาตอ) เพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานแหล่งที่มาของไม้ที่ชอบด้วยกฎหมาย

5) การเผาถ่านหากมิใช่ไม้ที่มาจากป่า แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในความควบคุมตามกฎหมายแล้วว่าจะต้องขออนุญาต หากแต่ถ้าการทำกิจการดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์ในความคุมตามกฎหมายอื่น เช่น พรบ.โรงงาน หรือการประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ กรณีนี้จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่ว่านั้นด้วย

สำหรับการยื่นขออนุญาตสามารถยื่นได้ที่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด โดยมีเอกสาร ดังนี้

- บัตรประจำตัวประชาชน

 - สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

- โฉนดที่ดิน สัญญาเช่าที่ดิน หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ซึ่งเป็นที่จัดตั้งเตาเผา

ขั้นตอนการดำเนินการ

- ยื่นความประสงค์ตั้งเตาผาถ่านพร้อมเอกสาร

- แจ้งจำนวนเตาเผาถ่านไม้ที่ต้องการจัดตั้ง ว่าเป็นจำนวนทั้งหมดกี่เตา

- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสถานที่ และลักษณะของเตา และออกใบอนุญาตให้กับผู้ขออนุญาตต่อไป

- หากต้องการเคลื่อนย้ายถ่านไม้ เจ้าของเตาเผาจะต้องดำเนินการเป็นผู้ยื่นของอนุญาตเคลื่อนย้าย

ค่าธรรมเนียมในกาขออนุญาตตั้งเตาเผา

- ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตตั้งเตาเผาถ่านไม้ เจ้าหน้าที่พิจารณาจากจำนวนคนงาน ที่เจ้าของเตาเผาได้ทำการยื่นขอ

ขอขอบคุณที่มา : https://www.mnre.go.th/sisaket/th/news/detail/115060

  โดย : ชาญชัย เสี้ยวทอง [ 19/12/2566 เวลา: 13:44:40]

  ความคิดเห็นที่ 2

กรณี การประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำเพื่อการค้า จะต้องขออนุญาตท้องถิ่น (ตามข้อบัญญัติที่บัญญัติไว้)

ตัวอย่างร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น http://www.envoccyasothon.org/board_env/show_detail.php?q_id=10
  โดย : ชาญชัย เสี้ยวทอง [ 19/12/2566 เวลา: 13:57:53]

สมัครเป็นสมาชิก และLogIn เข้าสู่ระบบ...ถึงจะตั้งกระทู้หรือตอบกระทู้ได้