::รู้หรือไม่ว่าร้านสัก ( Tattoo Shop ) ควรมี ใบประกอบกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ??::
รายละเอียด:-รู้หรือไม่ว่าร้านสัก ( Tattoo Shop ) ควรมี ใบประกอบกิจการที่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพ??
อยู่ใน 141 กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ.2558 ท้องถิ่นต้องออกข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุม
ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขตในพื้นที่ที่เปิดกิจการ
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558
มีทั้งหมด 13 ประเภท รวม 141 กิจการ ซึ่งกิจการสักผิวหนังหรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายจัดอยู่ในประเภทที่
9 กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ รายการที่ 18 จาก 21 รายการ โดยท้องถิ่นต้องออกข้อบัญญัติท้องถิ่น การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามประกาศฉบับนี้
กำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุม และขออนุญาตดำเนินกิจการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สำนักงานเขต
ในพื้นที่ที่เปิดกิจการ ส่วนกระทรวงสาธารณสุข
จะดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้คำปรึกษากับท้องถิ่นในการใช้อำนาจตามกฎหมายและมีคณะกรรมการรับเรื่องอุทธรณ์จากผู้ประกอบการและประชาชน
ทั้งนี้ กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558
จำนวน 13 ประเภท ได้แก่ กิจการที่เกี่ยวกับ 1.สัตว์เลี้ยง 2.สัตว์และผลิตภัณฑ์ 3.อาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่วยอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน 4.ยา
เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 5.การเกษตร 6.โลหะหรือแร่ 7.ยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล 8.ไม้หรือกระดาษ 9.การบริการ 10.สิ่งทอ 11.หิน
ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง 12.ปิโตรเลียม
ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ และ 13. กิจการอื่น
ๆ กิจการเหล่านี้
ต้องขออนุญาตเปิดกิจการจากท้องถิ่น และตรวจความปลอดภัย
เพราะเป็นกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพ เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน
ร้านสัก ไม่ว่าจะเป็น
สักตัว หรือสักคิ้ว ควรต้องมีใบอนุญาตการประกอบกิจการอย่างถูกต้อง
ก่อนจะได้ใบประกอบการ จะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนด
ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ต่างๆ อาทิ พื้นที่ทำการสักต้องแยกสัดส่วนจากพื้นที่อื่น
ไม่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบริเวณที่ทำการสัก อุปกรณ์การสัก เจาะ
ต้องจัดเก็บเป็นระเบียบ มีภาชนะบรรจุอย่างปลอดภัย
มีอุปกรณ์ทำความสะอาดร่างกายต่อผู้รับบริการ สีต้องไม่เป็นอันตรายต่อร่ายกาย เข็ม
ภาชนะบรรจุสี มีดโกน ต้องใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่ง การสักนั้น ถือเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ดังนั้น ท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) ซึ่งเป็นผู้อนุญาตจึงจะต้องตรวจเข้มร้านสักลายผิวหนัง
หากตรวจพบว่าไม่มีใบประกอบการ
จะต้องหยุดกิจการและจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายในทันที
ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หลักฐานที่ต้องใช้
1.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ
2.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ
(กรณีไม่ใช่บุคคลเดียวกันกับผู้ขอใบอนุญาต)
3.
สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
4. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล
(กรณีผู้ขอเป็นนิติบุคคล)
5.
ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือหลักฐานที่ใช้แสดงว่าที่ตั้งสถานประกอบการสามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
6. หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสำเนาหนังสือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
7.
หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(กรณีเจ้าของไม่สามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง)
8.
ใบอนุญาตจากส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
--------------------------------------------------------------------------------
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตั้งแต่
100 ถึง 10,000 บาท (แล้วแต่ประเภทและขนาดกิจการ)
--------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ
- กรณีขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นแบบ
อภ.3 พร้อมเสียค่าธรรมเนียมภายในเก้าสิบวันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
หากยื่นคำขอต่อใบอนุญาตเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว ต้องเสียค่าปรับเพิ่มร้อยละ 20
ของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
-
กรณีขอเปลี่ยนแปลง ขยาย หรือลดการประกอบกิจการสถานที่หรือเครื่องจักร ต้องยื่นแบบ
อภ.4
-
กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตต้องยื่นแบบ อภ.6
ภายใน 15 วัน
-
กรณีโอนการดำเนินกิจการ ต้องยื่นแบบ อภ.8
-
กรณีแจ้งเลิกกิจการ ต้องยื่นแบบ อภ.9 ก่อนถึงกำหนดเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
จาก :
ชาญชัย เสี้ยวทอง - [28/12/2566 เวลา: 13:33:17] ข่าวนี้ไม่มีไฟล์แนบครับ |