องค์ความรู้ กฎหมายสาธารณสุข ข้อบัญญัติท้องถิ่น>> ติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องขออนุญาต....?
ผู้แจ้งข่าว: กลุ่มงานอวล.สสจ.ยโสธร เมื่อวันที่: 17 ม.ค. 2567 11:29:09
ติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องขออนุญาตการไฟฟ้าหรือไม่
การติดตั้งโซล่าเซลล์ออนกริด หรือระบบที่มีการเชื่อมขนานไฟจากการไฟฟ้าฯ “ต้องขออนุญาตหน่วยงานราชการ” โดยต้องขออนุญาตถึง 3 หน่วยงานด้วยกัน
1. ต้องขออนุญาต/แจ้ง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เช่น สำนักงานเขต เทศบาลหรือ อบต. ในท้องที่ที่บ้านตั้งอยู่รับทราบการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อขออนุญาตปรับปรุงอาคารสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์ โดยการยื่นเอกสาร ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (อ.1)
โดยตามกฎกระทรวงมหาดไทย ปี 2558 ลงวันที่ 1 ต.ค. 2558 ระบุว่า
ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร ไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องขอ แบบ อ.1 แต่ต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฏหมาย และทำหนังสือแจ้งการติดตั้งโซล่าเซลล์แทน
***ต้องมีแบบคำนวณ โครงสร้างให้วิศวกรโยธา เซ็นแบบ ทั้ง 2 กรณี
กรณี 1 ขอใบอนุญาต อ.1 เมื่อ ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ มากกว่า 160 ตารางเมตร
และมีน้ำหนักรวมมากกว่า 20 กิโลกรัม/ตารางเมตร
กรณี 2 ยื่นคำร้องแจ้งให้ทราบ เมื่อ ติดแผงโซล่าเซลล์ บนหลังคาขนาดพื้นที่ น้อยกว่า หรือเท่ากับ 160 ตารางเมตร
และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัม ต่อ ตารางเมตร
กรณีอาคารอยู่ในพื้นที่เขตควบคุมอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร จะต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคารโดยการตรวจสอบพื้นที่เขตควบคุมอาคารฯ สามารถสอบถามได้ที่หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เช่น สำนักงานเทศบาล / อบต. ในท้องที่ที่อาคารตั้งอยู่
กรณีอาคารตั้งอยู่นอกเขตควบคุมอาคาร ไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร ยกเว้นเข้าข่ายเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ (พื้นที่ 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป) หรืออาคารสูง (สูง 23 เมตร ขึ้นไป) ต้องขออนุญาตดัดแปลง (หากอยู่นอกเขตควบคุมอาคารให้ขอหนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นด้วย)
กรณีหลังคาของอาคารเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เนื่องจากไม่เข้าข่ายเป็นการดัดแปลงอาคาร
2. ขออนุญาต กกพ. หรือ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
โดย ติดต่อ หน่วยงาน กกพ. : คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อ แจ้งขอยกเว้นฯ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
กรณี (Inverter < 1,000 kVA) 1000 kVA*0.8 = 800 kW
ผ่านช่องทางออนไลน์ ลงทะเบียนผ่านเว็บ app04.erc.or.th/elicense
ต้องแนบหลักฐานต่างๆ พร้อม ใบอนุญาต อ.1 ที่ได้มาจากอบต.หรือสนง.เขต แต่ถ้าไม่มีใบ อ.1 ก็เป็นหนังสือคำร้องแจ้งติดตั้งโซล่าเซลล์แทน ถ้าหลักฐานในการยื่นออนไลน์เบื้องต้นครบถ้วน ทำการพิมพ์เป็นกระดาษ เดินทางไปยื่นที่ สำนักงาน กกพ.เขต
3. ยื่นขอขนานไฟฟ้าเข้ากับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
ต้องมีแบบ Single Line Diagram โดยมีวิศวกรไฟฟ้าที่ได้รับใบอนุญาตเซ็นต์รับรอง โดยเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ถูกต้องมีเอกสารครบถ้วนแล้ว ยังต้องมี “แบบแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต จากทาง กกพ.” ทาง กฟน. และ กฟภ. จึงเข้าตรวจสอบการติดตั้งโซล่าเซลล์ และเมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงสามารถเริ่มใช้งานระบบโซล่าเซลล์ได้
สามารถอ่านข้อกำหนด เงื่อนไขต่างๆของการไฟฟ้าเพิ่มเติมได้
การไฟฟ้านครหลวง
ระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2559
รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจาก กฟน. เมื่อ 2 ก.ค. 2564
รายชื่ออุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller) เมื่อ 9 ก.ค. 2564
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ.2559
รายชื่อ Inverter ที่ผ่านการพิจารณาจาก กฟภ. เมื่อ 24 มิ.ย. 2564
ขอขอบคุณ ที่มา:https://www.look24solar.com