ผู้แจ้งข่าว: กลุ่มงานอวล.สสจ.ยโสธร เมื่อวันที่: 13 ธ.ค. 2566 11:17:20
::ประชุมชี้แจงขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี ๒๕๖๗::
รายละเอียด:- ประชุมชี้แจงขับเคลื่อนเมืองสุขภาพดี ๒๕๖๗ วัน พุธที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๖
โดยศูนย์อนามัยที่ ๑๐ อุบลราชธานี
ตามไฟล์ที่แนบ ประชุม ออนไลน์
เวปไซต์เมืองสุขภาพดี...สมัครเข้าระบบ...ที่ https://healthycity.anamai.moph.go.th/
::เกณฑ์การวัดมาตรฐานเมืองสุขภาพดี ปี ๒๕๖๗::
รายละเอียด:- เกณฑ์การวัดมาตรฐานเมืองสุขภาพดี ปี ๒๕๖๗
http://www.envoccyasothon.org/board_env/attach/8193.pdf
Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ
WHO
1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน
ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน
ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ
โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ
ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น
ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น
การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน
ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้
2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว
การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด
และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น
เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน
รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ
ซึ่งจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้
3. ส่งเสริมการออกกำลังกาย
วิถีชีวิตของคนเมืองวนเวียนอยู่กับการทำงานเป็นส่วนใหญ่จนแทบไม่มีเวลาออกกำลังกายกันเท่าไร
การจัดวางผังเมืองเพื่อเอื้ออำนวยต่อการออกกำลังกายทางอ้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น
การมีพื้นที่สำหรับปั่นจักรยานเดินทางไปทำงาน หรือทางเดินที่สามารถเดินรอบๆ
เมืองได้ เท่านี้ก็จะช่วยให้คนเมืองมีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกายได้ทุกวันแล้ว
4. ป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
อุบัติเหตุบนท้องถนนคือหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ
ของหลายเมืองทั่วโลก โดยเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทั้งความไม่ปลอดภัยของถนนเอง เช่น
ไม่มีไฟส่องสว่างจนทำให้มองไม่เห็นทาง
การออกแบบเส้นทางที่มีความเสี่ยงอย่างทางโค้งอันตราย หรือสาเหตุจากการขับรถเร็ว
เมาแล้วขับ และไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น ดังนั้น
เมืองจึงต้องใส่ใจเรื่องความปลอดภัยบนถนนของทั้งคนใช้รถยนต์และคนเดินถนน
ผ่านการรณรงค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะ นอกจากนี้ การมีกฎหมาย ข้อกำหนด
หรือบทลงโทษที่จริงจัง ก็จะช่วยให้คนตระหนักถึงการใช้ถนนร่วมกันซึ่งจะลดจำนวนอุบัติเหตุลงได้
5. ควบคุมคุณภาพอากาศ
มลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
ยานพาหนะ รวมถึงการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
ล้วนส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงอากาศบริสุทธิ์ในเมือง
แม้จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่ปัญหาเหล่านี้อาจแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการจัดตั้งโรงงานให้อยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน
ส่งเสริมให้ผู้คนใช้รถโดยสารสาธารณะเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวจำนวนมาก
รวมถึงจัดตั้งและบังคับใช้สถานที่ปลอดบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
เพื่อป้องกันไม่ให้มลพิษจากควันบุหรี่มือสองกระจายไปในวงกว้าง
6. ควบคุมโภชนาการ
อาหารจานด่วนถือเป็นเมนูยอดนิยมของคนเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบในทุกๆ
วัน เพราะสะดวก เข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง
เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาเตรียมอาหารด้วยตัวเอง
แต่อาหารประเภทนี้มักขาดคุณค่าทางโภชนาการและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้น
เมืองจึงควรมีการควบคุมโภชนาการอาหาร เช่น การกำหนดให้ร้านอาหารใช้วัตถุดิบสดใหม่แทนการใช้วัตถุดิบแปรรูป
หรือการติดฉลากอาหารที่เข้าใจง่าย
โดยวิธีการเหล่านี้จะช่วยให้คนเข้าถึงอาหารที่ดีและมีราคาจับต้องได้
7. ปรับโครงสร้างเมืองให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัย
เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยจะช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้น
เพราะปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว
ดังนั้น
การปรับโครงสร้างเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจึงถือเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางประชากร
เช่น การพัฒนาขนส่งสาธารณะให้ครอบคลุมและเข้าถึงง่าย
และการสนับสนุนด้านสุขภาพและสังคม
เพื่อเอื้อให้ผู้สูงอายุในเมืองสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ
รวมถึงออกไปทำกิจกรรมคลายเหงาและหาความสุขจากเวลาว่างได้อย่างเต็มที่
8. หาแนวทางลดความรุนแรง
อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในหลายเมือง ไม่ได้เกิดจากความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายหรือการเข้าถึงสิ่งผิดกฎหมายเท่านั้น
แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับจิตใจซึ่งอาจเกิดจากความยากจนและการเลี้ยงดูที่ไม่ดีจากครอบครัว
จนทำให้เกิดความวิตกกังวล ตำหนิตัวเอง หรือเกิดความหวาดกลัว
เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
เมืองจึงควรหาแนวทางในการลดความรุนแรงทุกรูปแบบ
อาจจะมาในรูปแบบของศูนย์ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหา
หรือการให้การศึกษาอย่างทั่วถึงเพื่อส่งเสริมให้เกิดการประกอบอาชีพ
รวมถึงต้องควบคุมดูแลปัญหายาเสพติดและการใช้อาวุธอย่างใกล้ชิดด้วย
Source : https://www.who.int/
ค่าเป้าหมาย ปี ๒๕๖๗ ของกระทรวงฯ ตามไฟล์ที่แนบ